ฐานข้อมูลมรดกวัฒนธรรมล้านนา
อาหารพื้นบ้านล้านนา
|
รวบรวมอาหารพื้นบ้านล้านนาจากผู้รู้ด้านอาหารพื้นบ้านในท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 29 ราย ตำรับอาหารต่างๆ ที่ใช้ส่วนผสมที่มีอยู่เฉพาะถิ่นภาคเหนือ รวมถึงอาหารของชาวล้านนา ที่เป็นภูมิปัญญาในการปรุงอาหารของท้องถิ่น จำนวน 160 รายการ ครอบคลุมทุกประเภทอาหาร ตามวิธีทำ ได้แก่ แกง คั่ว จอ เจียว ตำ ยำ นึ่ง น้ำพริก มอบ ลาบ ส้า อ็อก แอ็บ อุ๊ก/ฮุ่ม หมักดอง เคี่ยว และขนม ของว่าง ให้ข้อมูลของอาหารแต่ละตำรับ ประกอบด้วย สูตรอาหาร วิธีทำ เคล็บลับในการปรุง และการเลือกส่วนผสม ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสมพร้อมภาพประกอบ และประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพ ด้านโภชนาการและคุณค่าทางยา |
เข้าสู่ฐานข้อมูล |
ภาพล้านนาในอดีต |
รวบรวมและเผยแพร่ภาพล้านนาในอดีต พร้อมคำอธิบายภาพ เพื่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัย และปลุกจิตสำนึกในการรักษามรดกทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความรักและหวงแหนความเป็นล้านนาของผู้คนในภาคเหนือ โดยในปี 2551 ดำเนินการเผยแพร่ภาพล้านนาในอดีตเฉพาะเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน และเชียงราย ซึ่งเป็นผลงานของนายบุญเสริม สาตราภัย และเผยแพร่ชีวประวัติของท่าน ในฐานะบุคคลสำคัญด้านการบันทึกภาพประวัติศาสตร์ของล้านนาและนักเล่าอดีตล้านนาจากภาพถ่าย ฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต เป็นฐานข้อมูลภาพล้านนาฐานแรกของประเทศไทย ที่ให้ข้อมูลประกอบภาพอย่างละเอียด สามารถอ้างอิงได้ |
เข้าสู่ฐานข้อมูล |
ประเพณีล้านนา |
รวบรวมและเผยแพร่ประเพณีล้านนาในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์และในรูปสื่อวิดีทัศน์ ซึ่งเป็นสร้างแหล่งข้อมูลประเพณีล้านนาให้แก่นักศึกษา อาจารย์ และประชาชนทั่วไป อีกทั้ง เป็นการสนับสนุนข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวในภาคเหนือเชิงวัฒนธรรม การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมล้านนาในด้านข้อมูล อันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง ตลอดจนปลุกจิตสำนึกให้ชาวล้านนารู้สึกหวงแหน ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม และร่วมแรงร่วมใจอนุรักษ์ในแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสม |
เข้าสู่ฐานข้อมูล |
เครื่องเขินล้านนา |
รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลภาคเหนือในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์สำนักหอสมุด รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับเครื่องเขิน ซึ่งเป็นศิลปหัตถกรรมที่มีคุณค่าของท้องถิ่นล้านนา โดยให้ข้อมูลทางด้านประวัติความเป็นมา กรรมวิธีการผลิต ลวดลายเครื่องเขินในแต่ละท้องถิ่น และภาพสะท้อนจากอดีตถึงปัจจุบันของเครื่องเขิน อีกทั้ง ยังได้รวบรวมข้อมูลภาพและภาพเคลื่อนไหว จากแหล่งผลิตและแหล่งสะสมในภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน และจากชุมชนชาติพันธุ์ไท ณ เมืองเชียงตุง รัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในด้านข้อมูล อันเป็น ประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง ตลอดจนปลุกจิตสำนึกให้ชาวล้านนารู้สึกหวงแหน ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมของล้านนา |
เข้าสู่ฐานข้อมูล |
วรรณกรรมขับขาน |
จัดเก็บและเผยแพร่องค์ความรู้ในด้านวรรณกรรมท้องถิ่นภาคเหนือ ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลประวัติและผลงานของครูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวรรณกรรมพื้นบ้าน ประเภทค่าว ในท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านการขับขานและการประพันธ์วรรณกรรมค่าวล้านนา จำนวน 15 ท่าน โดยนำเสนอผลงานการขับขานวรรณกรรมค่าวผ่านสื่อวีดิทัศน์ ซึ่งมีลักษณะการเล่าค่าว และการเล่าค่าวใส่ทำนอง ทั้งหมดจำนวน 100 เรื่อง ทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคเหนือทางด้านวรรณกรรมล้านนา เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนการสอน การวิจัย และการศึกษาค้นคว้าของชุมชนในท้องถิ่น ตลอดจนผู้ที่สนใจทั่วไป
|
เข้าสู่ฐานข้อมูล |
เพลงล้านนา |
รวบรวมและเผยแพร่เพลงล้านนา เพลงพื้นบ้านล้านนา เพลงกล่อมเด็กและเพลงร้องเล่น เพลงคำเมือง เพลงที่ใช้ในพิธีกรรม
|
เข้าสู่เว็บไซต์ |
31 พฤษภาคม 2564, 10.51 น.